วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

เลขที่20 ซอยบางแวก3 ถนนจรัญสนิทวงศ์13 แขวงคู่หาสวรรค์, Bangkok, 10160
วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี is one of the popular College & University located in เลขที่20 ซอยบางแวก3 ถนนจรัญสนิทวงศ์13 แขวงคู่หาสวรรค์ ,Bangkok listed under School in Bangkok , College & University in Bangkok ,

Contact Details & Working Hours

More about วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งขึ้นตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2500 เรื่องให้ตั้งโรงเรียนพณิชยการธนบุรี ณ วัดบางแวก ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี สังกัดกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา ทำการเปิดสอนจริงเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2500 พระมหาระมัด โชติปาโล (ระมัด มีพร้อม) เจ้าอาวาสวัดบางแวก ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี มีจิตศรัทธาอยากให้มีโรงเรียนมัธยมให้บุตรหลานในละแวกนี้ได้ศึกษาเล่าเรียนในสายสามัญ และวิสามัญในวัดของท่าน ท่านจึงได้รวบรวมเงินของวัดร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาสร้างเป็นเรือนไม้ขึ้น 2 หลัง อาคารไม้ทั้งสองหลังสร้างแบบ ป.2 พิเศษ โดยที่ท่านตั้งใจจะให้เป็นโรงเรียนประชาบาลหลังหนึ่งและอีกหลังหนึ่งให้เป็นโรงเรียนมัธยม โดยใช้ค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 9 แสนบาท แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2496 แต่ก็ไม่สามารถตั้งได้ตามความมุ่งหมายได้เพราะมีเหตุขัดข้องบางประการ ท่านเจ้าอาวาสจึงได้พยายามติดต่อประสานงานเพื่อให้เป็นโรงเรียนให้ได้ ในปี พ.ศ. 2499 กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเล็งเห็นว่าการศึกษาอยู่ในความนิยมของผู้ปกครองและนักเรียนมาก

ประจวบกับมีบุตรหลานที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาแต่ไม่สามารถเข้าศึกษาต่อในสายอาชีวศึกษาโดยเฉพาะสาขาพณิชยการได้ เพราะมีโรงเรียนพณิชยการพระนครเพียงแห่งเดียว จึงได้ไปรวมตัวกันที่ท้องสนามหลวงเรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการจัดหาที่เรียนเพิ่มเติมให้ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้งให้ขุนวิทยาวุฑฒิ (นวม ชัยรัตน์) ผู้อำนวยการกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม กรมอาชีวศึกษา เป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่เรียนให้ ท่านขุนวิทยาวุฒิ หัวหน้าคณะมีความรู้ในพื้นที่ของจังหวัดธนบุรีเป็นอย่างดี จึงได้พาคณะกรรมการมานมัสการท่าน

เจ้าอาวาสวัดบางแวก เมื่อเจ้าอาวาสรู้วัตถุประสงค์ ก็รู้สึกดีใจและยินดีที่ความตั้งใจจะทำโรงเรียนที่ค้างคาเป็นผลสำเร็จ ฉะนั้นในการเจรจาต่างๆ จึงเกิดผลสำเร็จโดยรวดเร็ว ท่านเจ้าอาวาสจึงได้ขายอาคารไม้ทั้งสองหลังให้กรมอาชีวศึกษาไปพร้อมกับยกที่ดินให้เป็นของโรงเรียนอีก 9 ไร่ 3 งาน 2 ตารางวา โดยไม่คิดค่าเช่าแต่ประการใดทั้งสิ้น

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2500 กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งให้อาจารย์สัณห์ พรนิมิตร ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพณิชยการพระนคร มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนพณิชยการธนบุรี และมีอาจารย์ย้ายมาจากที่อื่นอีก 3 คน คืออาจารย์ช่วง ศรีอุทุมพร อาจารย์ผาด สุนทรินท์ และอาจารย์ผ่อน ดุสิตสวัสดิ์ ในวันที่ 15 เมษายน 2500 บรรจุอาจารย์เพิ่มอีก 2 คน คือ อาจารย์ธรรมนูญ สุวรรณภักดี อาจารย์สมชาย จตุรพาณิชย์ ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2500 ก็ได้บรรจุอาจารย์พงษ์ศักดิ์ เลขาตระกูล และได้จ้างอาจารย์เพิ่มประมาณ 11-12 คน จึงมีครูอาจารย์ในช่วงนั้นประมาณ 20 คน ส่วนภารโรงย้ายมาจากโรงเรียนพณิชยการพระนคร 2 คน คือนายชื่น เพ็งสว่าง และนายเจริญ จันทร์เจริญ ต่อมาได้จ้างเพิ่มอีก 2 คน คือนายชื้น เปลี่ยนแจ่ม และนายแดง พุกบางจาก

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2506 ท่านเจ้าอาวาสก็ยกที่ดินให้อีก 2 ไร่เศษ ทำให้ขณะนั้นโรงเรียนพณิชยการธนบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่ 3 งาน 1 ตารางวา

อาจารย์พงษ์ศักดิ์ เลขาตระกูล ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการจัดการศึกษาให้กับ ผอ.สัณห์ ในขณะนั้น (ผู้อยู่เบื้องหลังเป็นเสมือนผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่) ได้ถูกถามถึงความพร้อมในการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จากกรมอาชีวศึกษา

ดังนั้นในปีการศึกษา 2514 กรมอาชีวศึกษาจึงได้มีคำสั่งให้เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาการขายและวันที่ 24 พฤษภาคม 2515 กองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรมได้ดำเนินการขออนุมัติเปลี่ยนชื่อโรงเรียนพณิชยการธนบุรีเป็นวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีที่กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติแล้วตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2515 เป็นต้นไป ซึ่งนายประเสริฐ นนท์พละ อาจารย์เอกรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกโรงเรียน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองโรงเรียนพาณิชย์และอุตสาหกรรม (ในขณะนั้นเป็นผู้ลงนามคำสั่ง)

ปีการศึกษา 2515 กรมอาชีวศึกษาได้อนุมัติให้วิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรประโยคมัธยม (ป.ม.) ต่อจากระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นอีก 1 ปี ทั้งนี้ก็เพื่อสนองตามความต้องการของประเทศในการขาดแคลนครูอาชีวศึกษา

วิทยาลัยได้รับงบประมาณซื้อที่ดินเพื่อขยายบริเวณวิทยาลัยอีก 4 ไร่ 3 งาน (แต่ระบุไว้ 4 ไร่ 1 ตารางวา ตารางวาละ 400 บาท) ทำให้พื้นที่ของวิทยาลัยในปัจจุบันเป็น 17 ไร่ 1 ตารางวา

พื้นที่ดินบริเวณนั้นกำลังสร้างเขื่อนอยู่และวิทยาลัยคาดการณ์ว่าจะปรับปรุงพื้นที่บริเวณที่ดินแห่งนี้ให้เป็นสนามกีฬาเอนกประสงค์ เช่น สนามฟุตบอลขนาดย่อมใช้เล่นกีฬาได้ทุกประเภท เป็นต้น

ปี พ.ศ. 2532 ผอ.ประทีป ปฐมกสิกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพณิชยการธนบุรีขณะนั้นได้รับงบประมาณที่ได้รับจากกรมอาชีวศึกษาสมทบกับเงินบำรุงการศึกษาซึ่งวิทยาลัยมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้วางแผนสร้างอาคารเรียน แต่ติดขัดเรื่องการขนย้ายอุปกรณ์ก่อสร้าง เนื่องจากสะพานข้ามคลองเดิมเป็นสะพานไม้ที่มีขนาดเล็กและแคบ จึงสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นก่อนในปีนั้นหลังจากนั้นจึงสร้างอาคาร 2 อาคาร 7 และอาคาร 8 ในปี พ.ศ. 2534

การคมนาคม

สภาพเดิมของวิทยาลัยในสมัยนั้นเต็มไปด้วยเรือกสวนท้องร่อง ตรงกลางสนามวิทยาลัยเป็นโกดังเก็บศพและเชิงตะกอนเผาศพ (ของวัดบางแวก) ทางโรงเรียนต้องรื้อถอนและปรับปรุงสถานที่ โดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของคณะครูอาจารย์และนักเรียนรุ่นที่ผ่านๆ มาช่วยกันปรับปรุงจนกลายเป็นสภาพในปัจจุบันนี้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ถึงประมาณปี พ.ศ. 2506 การเดินทางในช่วงนั้นมีอยู่ 2 ทาง คือเดินจากสะพานบางไผ่เข้าไปประมาณ 20 กว่านาที หรือนั่งเรือตุ๊กๆ นั่งได้ประมาณ 20-30 คน การเดินทางมาที่โรงเรียนพณิชยการธนบุรี คือเดินทางมาขึ้นเรือยนต์เครื่องกลางลำที่ท่าน้ำตลาดพลูคือคลองบางหลวงเพียงอย่างเดียวสะดวกที่สุดในขณะนั้น ถ้าวันที่น้ำในคลองแห้งเรือยนต์ก็จะมาส่งแค่

สะพานบางไผ่และต้องเดินเข้าทางวัดทองศาลางาม ผ่านวัดกำแพง วัดศาลาสี่หน้า ระยะทางเดินก็ประมาณ 3 กิโลเมตรเศษ (ถนนเพชรเกษม) ถ้าจะใช้ทางถนนจรัญสนิทวงศ์จะเข้าทางจรัญซอย 3 (ซอยจรัญสนิทวงศ์ 13ที่ใช้สัญจรในปัจจุบันขณะนั้นยังไม่เป็นรูปร่างถนนเลย)

เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกนักเรียนชายจำเป็นต้องเรียนวิชาทหารของกรมการรักษา-ดินแดน ด้วยความอนุเคราะห์ของกรมการรักษาดินแดนได้ให้คณะครูนายทหารและครูฝึกมาตั้งเป็นศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารในระหว่างปิดเรียนภาคต้น 20 วัน (สอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและสอบเลื่อนชั้นในระยะเวลา 20 วัน) มีโรงเรียนมัธยมสามัญส่งนักศึกษาวิชาทหารมาร่วมเรียน เช่น โรงเรียนมัธยมวัดนวลนรดิศ และโรงเรียนวัดชิโนรส โรงเรียนทวีธาภิเษก เป็นต้น กรมการรักษาดินแดนมาตั้งเป็นศูนย์ฝึกที่โรงเรียนพณิชยการธนบุรี เป็นเวลาหลายปี

การรับนักเรียนเข้าเรียน

การจัดการเรียนการสอนก่อนปีการศึกษา 2500 ด้านสายสามัญจะแยกรับนักเรียนชายและหญิงเป็นโรงเรียนที่รับนักเรียนชายล้วนและโรงเรียนที่รับนักเรียนหญิงล้วน ด้านโรงเรียนอาชีวศึกษาก็จัดเช่นเดียวกันคือโรงเรียนที่รับนักเรียนชายล้วน เช่น ช่างกลปทุมวัน, ช่างก่อสร้าง อุเทนถวาย โรงเรียนที่รับนักเรียนหญิงล้วน เช่น การช่างพระนครใต้, การช่างเสาวภา แต่ที่แตกต่างไปจากที่กล่าวมาแล้วคือมีโรงเรียนพณิชยการมีการรับนักเรียนทั้งหญิงและชายแต่เวลาเรียนยังแยกเรียนกันคนละห้อง เป็นสหศึกษาแบบผิวเผิน (ยกเว้นนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เรียนรวมกัน) สำหรับโรงเรียนพณิชยการธนบุรี รับนักเรียนทั้งชายและหญิงและได้จัดให้นักเรียนได้เรียนรวมกันเป็นโรงเรียนที่จัดแบบสหศึกษาจริง ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรงเรียนแบบสหศึกษาแห่งแรกในขณะนั้น

โรงเรียนพณิชยการธนบุรีจัดการเรียนการสอนเป็น 2 ผลัด คือผลัดเช้าและผลัดบ่ายซึ่งมีการแบ่งการเรียนการสอนเป็นผลัดอย่างชัดเจน แต่ละผลัดจะเรียนผลัดละ 5 คาบ ใช้เวลาคาบละ 50 นาที

ผลัดเช้าจะเริ่มเรียน เวลา 07.30 น. เลิกเรียนเวลา 12.30 น.

ผลัดบ่ายจะเริ่มเรียน เวลา 12.30 น. เลิกเรียนเวลา 17.30 น.

ก่อนเข้าเรียนแต่ละผลัดจะมีกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ อบรม วันหยุดประจำสัปดาห์โรงเรียนเคยจัดวันหยุดเป็นวันอาทิตย์และวันจันทร์แตกต่างจากสถานที่ราชการและสถานศึกษาอื่นๆ เพื่อจะให้ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา สามารถไปติดต่อราชการและใช้ประโยชน์ของวันหยุดซึ่งเป็นที่พึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก

ดังได้กล่าวมาแล้วถึงการคมนาคมแม้จะตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ แต่สภาพยิ่งกว่าไกลปืนเที่ยง โรงเรียนในต่างจังหวัดยังดีกว่าหลายเท่าประกอบกับเป็นโรงเรียนตั้งใหม่ นักเรียน ผู้ปกครองบางท่านยังไม่รู้จักโรงเรียนพณิชยการธนบุรีจะพบว่าผู้ปกครองพาบุตรหลานไปเรียนถึงย่านบางแคเกือบทุกปีทำให้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2500-2505 โรงเรียนต้องคัดเลือกนักเรียนกันหลายรอบถึงประมาณกลางเดือนมิถุนายน จึงจะหยุดรับเข้าเรียนเพราะถ้าหลังจากนี้เวลาเรียนของนักเรียนก็จะไม่ครบตามหลักสูตร

โรงเรียนมีการคัดเลือกรอบแรกเพียงรอบเดียวเพราะมีนักเรียนมาสมัครเข้าเรียนเกินจำนวนที่รับตั้งแต่ปีการศึกษา 2506 เป็นต้นมาจนปัจจุบันนี้

อุปกรณ์การเรียนการสอน

อุปกรณ์การสอนในสายพณิชยการ เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคำนวณเลข เครื่องทำบัญชี เครื่องถ่ายเอกสาร โรงเรียนไม่ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อซึ่งจะเห็นได้จากการจัดการเรียนการสอนพิมพ์ดีดบนกระดานดำให้นักเรียนย้ายนิ้วมือตามเสียงที่ครูเปล่งบอก เช่น นิ้วก้อยซ้ายตรงคำว่า “ฟ” เป็นคีย์วางมือคือ “ฟ ห ก ด ่ า ส ว” เป็นต้น บางชั่วโมงก็พานักเรียนทำกิจกรรมขุดร่องสวนปรับพื้นที่ แต่ก็ไม่ทำให้นักเรียนรุ่นแรกย่อท้อ นักเรียนรุ่นแรกจบไปรับใช้บ้านเมืองทั้งหน้าที่ราชการและธุรกิจก้าวหน้ามีความเป็นปึกแผ่น และรักใคร่ กลมเกลียวกันจนถึงปัจจุบันนี้ดีมาก

ในปีการศึกษา 2501 โรงเรียนจึงได้รับอุปกรณ์การสอนพิมพ์ดีดจากกรมอาชีวศึกษาและสำนักงบประมาณ จำนวน 100 เครื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และได้รับการสนับสนุนจากกรมในอุปกรณ์การสอนอื่นๆ จนครบตามหลักสูตรในปีถัดมา

อัตราของครูอาจารย์

ครูอาจารย์รุ่น 1-2-3 ส่วนใหญ่ได้มาจากผู้จบหลักสูตรประโยคครูมัธยมศึกษา (พณิชยการ) จากวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ บุคลากรเหล่านี้ต้องมาปฏิบัติหน้าที่ตามความผูกพันการรับเงินทุนเรียนจะมีบางคนสมัครสอนเพราะใจรักอาชีพครูนั้นน้อยมาก สำหรับบุคลากรอื่นที่จบจากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ในสาขาบัญชี, พาณิชยศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ การศึกษาก็มีบรรจุเป็นครูอาจารย์แต่ก็มีไม่มากนักบางรายบรรจุแล้วมารายงานตัวมาเห็นสภาพ การคมนาคม ก็สละสิทธิ์จะเห็นได้จากครูที่จบปริญญาตรี วิชาเอกภาษาอังกฤษ ซึ่งกว่าจะได้ครูสอนภาษาอังกฤษโดยตรงมาสอนโรงเรียนต้องเวลารอคอยถึง 13 ปี เป็นต้น

การจัดการศึกษา

กำเนิดโรงเรียนพณิชยการธนบุรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมี นายสัณห์ พรนิมิตร เป็นอาจารย์ใหญ่ท่านแรก ต่อมากรมอาชีวศึกษาเห็นว่าโรงเรียนพณิชยการธนบุรีได้ผลิตนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถ มีระเบียบวินัยดีเป็นที่เชื่อถือแก่หน่วยงานต่างๆ ที่รับนักเรียนเข้าทำงานจึงได้อนุมัติให้เปิดสอนระดับ ปวส. การจัดการศึกษาและกิจกรรมทักษะต่างๆ ในรูปแบบของชุมนุมของพณิชย์ธน อาทิ ชุมนุมห้องสมุด ชุมนุมสังคมสงเคราะห์ ชุมนุมวารสารและประชาสัมพันธ์ ชุมนุมภาษาไทย ชุมนุมกีฬาทางน้ำ ชุมนุมพิมพ์ดีด ชุมนุมวัฒนธรรมไทย ชุมนุมลูกคิด ชุมนุมชวเลข ชุมนุมเทเบิลเทนนิส เป็นต้น

กิจกรรมด้านกีฬามีชื่อเสียงมากติดระดับทีมชาติ ก็มี กีฬาว่ายน้ำ ตะกร้อ นักตะกร้อทีมชาติ นายสืบศักดิ์ ผันสืบ กรีฑา นักวิ่งลมกรด 100 เมตร ระดับชาติคนนี้ก็คือนายสุชาติ แจสุรภาพ นอกจากนี้มีการมอบเสื้อสามารถสำหรับนักกีฬาที่มีความสามารถ เช่น มวย ยูโด แบดมินตัน ฟุตบอล บาสเกตบอล นักกีฬาทุกประเภทต่างสร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับพณิชยการธนบุรีและครูอาจารย์ทุกคน

พ.ศ. 2500 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

พ.ศ. 2514 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

พ.ศ. 2516 เปิดสอนหลักสูตรประโยคครูมัธยมศึกษา (ป.ม.) สมัยนั้นถ้านักศึกษา ป.ม. คนใดจะศึกษาต่อระดับปริญญาตรีต้องเรียนหลักสูตรประโยคครูมัธยมศึกษาก่อนจึงสามารถศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ มศว. ประสานมิตรในคณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจศึกษา (ระดับปริญญาตรี) ได้จึงมีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประโยคครูมัธยมศึกษา จำนวน 10 รุ่น

พ.ศ. 2537-2546 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2537-2545 รวมสำเร็จการศึกษาจำนวน 8 รุ่น รุ่นสุดท้ายสำเร็จการศึกษาปี พ.ศ. 2546 ผู้สำเร็จการศึกษารับเงินเดือนเท่ากับปริญญา

ตรีหลักสูตรอื่นและสามารถสอบเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท อีกทั้งยังได้รับการบรรจุในวิทยาลัยสังกัดกรมอาชีวศึกษา (เดิม) นักศึกษาที่มาเป็นนักศึกษาโควต้าส่งมาจากวิทยาลัยที่สังกัดกรมอาชีวศึกษา นักศึกษา ปทส. ส่วนใหญ่ ศึกษาต่อปริญญาโทและทำการสอนในวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี ปัจจุบันคือครูสรญา เปรี้ยวประสิทธิ์ ครูธนาวดี บานแย้ม และครูศิริพรรณ ชุ่มเย็น

พ.ศ. 2540-2546 เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

หลักสูตร 2 ปี ในโครงการความร่วมมือระหว่างกรมอาชีวศึกษากับกองทัพบกในการสนับสนุนนักเรียนนายสิบที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ของกรมสรรพาวุธทหารบก (สะพานแดง บางซื่อ กรุงเทพมหานคร) มีนักเรียนรุ่นละ 1 ห้องเรียนจำนวน 5 รุ่น

พ.ศ. 2541 ได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลสถานศึกษามาตรฐานอาชีวศึกษาดีเด่น

พ.ศ. 2544 มีโครงการนำร่องรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.3) จากโรงเรียนศึกษา

สงเคราะห์ในเขตภาคเหนือเข้าเรียนต่อระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี โดยเรียนที่วิทยาลัยฯ 2 วัน คือวันพุธกับวันพฤหัสบดีและทำงานที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น 4 วัน มีวันหยุด 1 วัน และพักอาศัยอยู่ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี รับประทานอาหารเช้าและเย็นที่วิทยาลัยจัดหาให้ นักเรียนทวิภาคีกลุ่ม 123 (ชาวเขา) มีฐานะยากจนมีเงินจำนวนจำกัดจะมีรายได้จากการทำงานระหว่างเรียนซึ่งต้องจ่ายเป็นค่าอาหารกลางวันในวันที่ไปทำงาน 4 วัน และยังจ่ายค่าพาหนะในการ

เดินทางไปวิทยาลัยฯ กับไปทำงานที่ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นและค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ อีก ซึ่งนักเรียนทุกคนมีความตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียนเป็นอย่างมาก

พ.ศ. 2547 เปิดหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว (อุตสาหกรรมท่องเที่ยว)

ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 4 รุ่น และในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน 2 รุ่น ซึ่งมีคณะอาจารย์คืออาจารย์อรอนงค์ มีอินทร์เกิด อาจารย์ชยพัทธ์ เปรมภักดี และอาจารย์สุวดี บุญมาจรินทร์ ซึ่งจบจากสถาบันการศึกษาด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวโดยตรง ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งการเรียนการสอนนอกสถานที่ในภาคต่างๆ ของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศ วิถีชีวิตศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

พ.ศ. 2547-2552 วิทยาลัยพณิชยการธนบุรีจัดการเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าสู่หน่วยกิต

โดยอาจารย์สมพิศ เล็กเฟื่องฟูและทีมคณะการตลาดและอาจารย์พวงรัตน์ พวงทิพย์ (งานหลักสูตร) ร่วมกันจัดการศึกษาโดยเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ให้กับบุคลากรหน่วยงานภาคเอกชนในระดับหัวหน้า/ผู้จัดการ จำนวน 7 คน อาทิ นางสาวผุสดี จุ้ยเจริญ ตำแหน่งผู้จัดการตัวแทน บริษัท CHARABOT จำกัด (ประเทศไทย) เข้าศึกษาต่อ ระดับ ปวส. สาขาการตลาด เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 จบการศึกษา 10 มีนาคม 2549 นายบุญลือ วีระเดช ตำแหน่งหัวหน้าภาค สาขาธนบุรี บริษัท เสริมสุข จำกัด เข้าศึกษาต่อ ระดับ ปวส. สาขาการตลาด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2547 จบการศึกษา 10 มีนาคม 2549 นายสมโชค เลี้ยงพงษ์ ตำแหน่งผู้จัดการสาขาลีลม บริษัท POWER BUY จำกัด เข้าศึกษาต่อระดับ ปวช. สาขาธุรกิจค้าปลีก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2548 จบ

การศึกษา 30 เมษายน 2550 เข้าศึกษาต่อ ระดับ ปวส. สาขาการจัดการธุรกิจค้าปลีก เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 จบการศึกษา 30 ตุลาคม 2552

พ.ศ. 2552 วิทยาลัยพณิชยการธนบุรีได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาวิชาทหารดีเด่น

สืบเนื่องมาจากการมีนักเรียนนักศึกษา ชาย/หญิง สนใจและเห็นความสำคัญของการศึกษาวิชาทหารที่กรมการรักษาดินแดนจัดให้จัดให้เป็นจำนวนมากและได้เข้าร่วมปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารแข็งขันสถานศึกษาร่วมใจมุ่งไปสู่มาตรฐานเดียวกัน ภายใต้การกำกับดูแลของรองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษารองฯ ชวนจิต เอี่ยมฉ่ำ ผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารพิเศษและผู้กำกับคือครูวารุณี เอี่ยมอารมณ์

พ.ศ. 2553 ปัจจุบันวิทยาลัยยังคงเปิดการเรียนการสอนเป็น 2 ระดับ และแบ่งเป็นรอบเช้า

และรอบบ่าย ดังนี้

1. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชา พาณิชยกรรม หลักสูตร 3 ปี 2 สาขาวิชา

1.1 สาขาวิชาพณิชยการ

1.2 สาขาวิชาธุรกิจการค้าปลีก (ระบบทวิภาคี)

2. ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ หลักสูตร 2 ปี 6 สาขาวิชา

2.1 สาขาวิชาการบัญชี

2.2 สาขาวิชาการเลขานุการ

2.3 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว

2.4 สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก (ระบบทวิภาคี)

2.5 สาขาวิชาการตลาด

2.6 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์

Map of วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี

OTHER PLACES NEAR วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี